อาลัย โจ บอยสเก๊าท์ ปิดตำนานบอยแบนด์เมืองไทย

คืนกลางดึกวันที่ 10 พฤษจิกายน 2560 กิดเหตุการณ์ช็อคหัวใจแฟนเพลงยุค 90 เมื่อ “โจ บอยสเก๊าท์” หรือ “ธนัท ฉิมท้วม” หมดสติระหว่างเล่นคอนเสิร์ต และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยวัยเพียง 44 ปี เนื่องจากหัวใจวายเฉียบพลัน ปิดตำนานวงบอยสเก๊าท์ บอยแบนด์ยุคแรกๆของเมืองไทย เชื่อว่าคอเพลงยุค 90 คงไม่มีใครไม่รู้จักกับเพลงของวงนี้ วันนี้ Musicarms จะขอพาไปรู้จักกับวงบอยสเก๊าท์เพื่อเป็นการอาลัยให้กับ “พี่โจ” ผู้จากไปสู่สุขคติ

Image result for โจ boyscout

บอยสเก๊าท์ เป็นวงบอยแบนด์จากค่าย RS Promotion ประกอบด้วย 3 สมาชิกคือ ต๊ะ ฌานิศ ใหญ่เสมอ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วินรวีร์ ใหญ่เสมอ), โจ ธเนศ ฉิมท้วม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ธนัท ฉิมท้วม) และ ดิ๊บ ธนพงศ์ คล้ายพงศ์พันธ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทรงพล คล้ายพงศ์พันธ์) ตัวโจนั้นเข้าวงการมาก่อนเพื่อนด้วยการเล่นภาพยนตร์เรื่อง สยึ๋มกึ๋ย กึ๋ย 2 ในปี 2533 และเรื่อง ป้อ สำหรับบางวัน ในปี 2535 ก่อนที่จะมาพบกับ ต๊ะ และ ดิ๊บ ในเรื่อง อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป ในปี 2535 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทั้งสามคนเล่นด้วยกันภายใต้การกำกับของ บัณฑิต ฤทธิถกล

Image result for โจ boyscout

ภาพยนตร์เรื่อง อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป ประสบความสำเร็จอย่างมากด้วยการคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในเวทีรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2535 แจ้งเกิดดาราวัยรุ่นหลายคนในยุคนั้น เช่น แอน ทองประสม แคทลียา อิงลิช รวมถึงวงบอยสเก๊าท์ที่ได้เซ็นสัญญากับทาง RS Promotion ซึ่งทางค่ายกำลังจะปั้นวงบอยแบนด์ที่มีเอกลักษณ์ทั้งการร้องและเต้นคล้ายคลึงกับวง Hi-Jack ที่เคยออกอัลบั้มมาก่อนหน้านี้ แต่จะทำเพลงให้เป็นสไตล์ป็อปที่เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ป็อปลูกกวาด” ในสมัยนั้นนั่นเอง

Image result for โจ boyscout

และแล้ววงบอยสเก๊าท์ก็ได้ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด บอยสเก๊าท์ ไว้ลายไม่ใช่เล่น ในปี 2536 มีเพลงเปิดตัวคือเพลง คิกขุอาโนเนะ ซึ่งนำมาจากภาษาวัยรุ่นในยุคนั้น ร้องโดย ดิ๊บ และเพลง ปอด ปอด ร้องโดย ต๊ะ สร้างปรากฏการณ์เขย่าวงการเพลงวัยรุ่นยุค 90 ได้ทันที เด็กวัยรุ่นยุคนั้นร้องเพลงของบอยสเก๊าท์กันได้ทั่วบ้านทั่วเมือง มีการแต่งตัวตามศิลปินทั่วสยามสแควร์ นอกจากเพลงเร็วแล้วยังมีเพลง ขอคืน ที่ยังคงความอมตะมาจนถึงปัจจุบัน และเพลง อย่ามาห้าม ซึ่งเป็นเสียงร้องช้าๆซึ้งๆของโจ ก็ฮิตติดชาร์ตเพลงไปทั่วประเทศเช่นเดียวกัน

Image result for บอยสเก๊าท์

เพียงแค่ชั่วข้ามคืนก็ทำให้วงบอยสเก๊าท์กลายเป็นวงบอยแบนด์เบอร์ 1 ของประเทศไทยในยุคนั้นไปทันที สร้างปรากฏการณ์และรายได้อย่างมหาศาลให้กับทางค่าย RS มีคอนเสิร์ตเดี่ยว บอยสเก๊าท์ ไว้ลาย (ไม่ใช่…) เล่นเล่น เดือน ธันวาคม 2536 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ ทำให้ทาง RS ต้องออกอัลบั้มชุดที่ 2 แก๊งใจง่าย มาในปี 2538 ซึ่งก็มีเพลงฮิตอย่าง คำว่ารัก, ไม่ขอให้คิดถึง โดยโจนั้นได้ร้องเพลง ทำใจไม่ถูก เป็นหนึ่งในเพลงดังของอัลบั้มนี้ ยอดขายทั้งสองชุดของบอยสเก๊าท์นั้นทำได้เกิน 1 ล้านตลับ และชุดที่ 2 ก็มีคอนเสิร์ตชื่อ แก๊งสเตอร์คอนเสิร์ต บอยสเก๊าท์ใจง่าย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2538 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์

Image result for โจ boyscout

หลังจากอัลบั้มชุดที่ 2 ทางวงได้หันไปเน้นงานแสดงมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ต๊ะ มีผลงานดังอย่าง เด็กเสเพล, 18 ฝนคนอันตราย ส่วนโจนั้นเน้นไปทางละครเช่นเรื่อง ดาวพระศุกร์, วิญญาณหรรษา และ เล่ห์ร้ายอุบายรัก ในขณะที่ทางวงกำลังรุ่งเรืองถึงขีดสุดก็มีข่าวช็อคเมื่อ ต๊ะ หนึ่งในสมาชิกของวงโดนจับเรื่องเสพยา ทำให้ทางค่าย RS สั่งยกเลิกงานทั้งหมดของวงบอยสเก๊าท์ ทำให้วงบอยแบนด์ชื่อดังงียบหายไปจากวงการพักหนึ่ง ประกอบกับเวลานั้นมีนักร้องรุ่นใหม่เกิดขึ้นมาต่อเนื่อง สมาชิกอย่างดิ๊บและโจจึงเริ่มหันไปทำธุรกิจส่วนตัว โดยโจนั้นเริ่มจากการเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ “ก๋วยเตี๋ยวลุงโจ”

Image result for บอยสเก๊าท์

นอกจากร้านก๋วยเตี๋ยวแล้ว โจ บอยสเก๊าท์ ยังได้ทำธุรกิจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น ผับและร้านอาหารชื่อว่า กระฉ่อน รวมถึงเป็น assistant project manager ของสยามสปอร์ตออร์กาไนเซอร์ ช่วงหลังทางวงได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเนื่องจากกระแสเพลงเรโทรย้อนยุคกำลังมาแรง แสดงคอนเสิร์ตตามสถานที่ต่างๆ ให้กับกลุ่มแฟนคลับที่ยังคิดถึงอยู่ รวมถึงจะมีคอนเสิร์ตใหญ่ อาร์เอสมีตติ้ง ที่รวมศิลปินไว้คับคั่ง เช่น บาซู, เจมส์, แร็พเตอร์, ลิฟท์-ออย, ทัช และ อนัน อันวา อีกด้วย แต่เวทีคอนเสิร์ตสุดท้ายของโจกลับเป็นที่ Color Bar ย่านทาวน์อินน์ทาวน์ เมื่อเจ้าตัวเกิดอาการวูบหมดสติขณะเล่นคอนเสิร์ตและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะมีอายุได้ 44 ปี และเพลงสุดท้ายที่”โจ”ร้องในชีวิตก็คือเพลง “อย่ามาห้าม” สุดยอดเพลงดังของบอยสเก๊าท์ในยุค 90 นั่นเอง

10 เพลงสุดดังจากมหกรรมกีฬาระดับโลก

Image result for We are The Champion - Queen

We are The Champion – Queen (วี อาร์ เดอะ แชมเปี้ยน – ควีน)
เพลงอมตะที่เปิดในการฉลองแชมป์แทบทุกเวที ของวง Queen ตำนานร็อคแห่งเกาะอังกฤษ อยู่ในอัลบั้ม News of the World ออกมาเมื่อปี 1977 แต่งโดยปลายปากกาของ เฟร็ดดี้ เมอร์คิวรี่ นักร้องนำผู้ล่วงลับของวง แม้ว่าตัวเพลงจะถูกเปิดในการเฉลิมฉลองแชมเปี้ยนส์มาอย่างยาวนาน แต่กลับเพิ่งถูกบรรจุเป็นเพลงประจำมหกรรมกีฬาโลกอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งที่ 15 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1994 โดยเป็นเพลงโปรโมทต่อจากเพลง Gloryland แต่ด้วยความดังของเพลงซึ่งคนรู้จักอยู่ก่อนหน้านี้ ทำให้กระแสเพลง We are The Champions กลบเพลงหลักอย่าง Gloryland ไปได้พอสมควร และยังคงความอมตะมาจนถึงปัจจุบัน

Image result for One Moment in Time - Whitney Houston

One Moment in Time – Whitney Houston (วัน โมเม้น อิน ทาร์ม – วิสนี่ย์ ฮิวส์ตัน)
เพลงประกอบการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ โอลิมปิค ปี 1988 ณ ประเทศเกาหลีใต้ จากเสียงร้องของดีว่าหญิงระดับตำนานอย่าง วิทนี่ย์ ฮิวส์ตัน แต่เดิมนั้นได้มีการคาดหมายให้ เอลวิส เพรสลีย์ ศิลปินร็อคแอนด์โรลเบอร์ 1 ของโลกเป็นผู้ร้องเพลงเปิด แต่เนื่องจากเอลวิสเสียชีวิตทำให้ Albert Hammond (อัลเบิร์ต แฮมมอนด์) ต้องแต่งเพลงนี้โดยจินตนาการว่า เอลวิส กำลังร้องเพลงในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิคแทน ความหมายของเพลงเป็นการเล่าชีวิตของราชาร็อคแอนด์โรลซึ่งวิทนี่ย์ถ่ายทอดออกมาได้อย่างดีเยี่ยม ปัจจุบันก็เป็นหนึ่งในเพลงยอดนิยมที่พบในเวทีประกวดบ่อยครั้ง

Image result for The Power of the Dream - Celine Dion

The Power of the Dream – Celine Dion (เดอะ พาวเวอร์ ออฟ เดอะ ดรีม – ซีลีน ดีออน)
เพลงเปิดพิธีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปี 1996 ณ กรุงแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ผู้แต่งเนื้อร้องถึง 3 คนคือ David Foster (เดวิด ฟอสเตอร์), Linda Thompson (ลินดา ธอมพ์สัน) และ Babyface (เบบี้เฟซ) โดยให้นักร้องสาวเสียงดี Celine Dion เป็นผู้ขับร้องต่อหน้าคนดูนับแสนในพิธีเปิด บทเพลงนี้ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นจนต่อยอดมาเป็นผู้ร้องเพลง My Heart Will Go On อันแสนโด่งดังในปีถัดมา นอกจากบทเพลงจะเข้าไปอยู่ในใจคนทั้งโลกแล้ว โอลิมปิคครั้งนี้ยังอยู่ในใจของคนไทยทุกคนเมื่อ สมรักษ์ คำสิงห์ คว้าเหรียญทองประวัติศาสตร์ ส่งธงไตรรงค์ขึ้นอยู่ยอดเสาเป็นครั้งแรกได้สำเร็จ

Image result for La Copa de la Vida (The Cup of Life

La Copa de la Vida (The Cup of Life) – Ricky Martin (ลา โคปา เดอ ลา วีด้า – ริคกี้ มาร์ติน)
เพลงประจำการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1998 ณ ประเทศฝรั่งเศส หรือที่หลายคนเรียกชื่อกันติดปากในตอนนั้นว่า “ฟร๊องซ์ 98” ปีนี้ค่อนข้างพลิกโผเล็กน้อยเมื่อเลือกเอา ริคกี้ มาร์ติน ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับความนิยมในวงกว้างเท่าไหร่นักเป็นผู้ขับร้อง และเวอร์ชั่นแรกยังทำเป็นภาษาเสปนซึ่งสร้างความงุนงงให้กับคนทั่วโลกเนื่องจากควรใช้ภาษาเจ้าภาพอย่างฝรั่งเศสมากกว่า ก่อนจะมาแปลงเนื้อเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลกว่าในภายหลัง อย่างไรก็ตามเพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสร้างชื่อ “Ricky Martin” นักร้องหนุ่มชาวโคลัมเบีย ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศและทำยอดขายในฝรั่งเศสไปเกินกว่า 5 แสนชุด

Image result for Un'estate italiana (To be number one)

Un’estate italiana (To be number one) – Gianna Nannini & Edoardo Bennato (อึน เอสตาเต้ อิตาเลียน่า – จิอันน่า นานนินี่ และ เอดูอาร์โด้ เบ็นนาโต้)
เพลงประกอบฟุตบอลโลกปี 1990 แต่งและขับร้องโดย Gianna Nannini และ Edoardo Bennato (จิอันน่า นานนินี่ และ เอดูอาร์โด้ เบ็นนาโต้) สองนักร้องชื่อดังของอิตาลีประเทศเจ้าภาพ มีเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่แต่งโดย Tom Whitlock (ทอม วิทล็อค) ออกมาควบคู่กัน หลายคนยกให้เพลงนี้เป็นเพลงประจำฟุตบอลโลกที่ดีที่สุดตลอดกาล ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะเยอรมันประเทศแชมป์โลกในปีนั้นสามารถทำยอดขายไปได้ถึง 2 แสน 5 หมื่นชุด หากใครทันยุคนั้นน่าจะจำกันได้ว่าเป็นอัลบั้มที่ต้องสั่งจองกันเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดครบทุกแมทช์ในประเทศไทย

Image result for Hand in Hand Koreana

Hand in Hand – Koreana (แฮนด์ อิน แฮนด์ – โคเรียน่า)
อึกหนึ่งบทเพลงที่โปรดิวซ์โดย Giovanni Giorgio Moroder (โจวานนี่ จอร์โจ้ โมโรเดอร์) และแต่งเนื้อร้องโดย Tom Whitlock (ทอม วิทล็อค) เช่นเดียวกับเพลง To Be Number One ใช้เป็นเพลงโอลิมปิคปี 1988 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้วงรุ่นเก๋าอย่าง Arirang Singers (อารีราง ซิงเกอร์ส) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเฉพาะกิจเป็น Koreana เพราะต้องการสื่อถึงความเป็นเกาหลีใต้เป็นผู้ขับร้อง แม้ว่าตัวโอลิมปิคจะมีเสียงค่อนขอดถึงการตัดสินของคณะกรรมการ แต่ทั่วโลกยังยอมรับว่านี่คือเพลงประกอบโอลิมปิคซึ่งดีที่สุดตลอดกาล ตัวเพลงสื่อความหมายถึมิตรภาพทางกีฬามากกว่าผลแพ้ชนะ สามารถขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในหลายประเทศทั้งเอเชียและยุโรป รวมถึงทำยอดขายไปได้เกินกว่า 12 ล้านชุดทั่วโลก

Image result for Waka Waka

Waka Waka – Shakira (วาก้า วาก้า – ชากีร่า)
นักร้องสาว Shakira เคยมีส่วนร่วมในเพลง Hips Don’t Lie (ฮิปส์ ดอนท์ ลาย)  ของฟุตบอลโลกปี 2006 มาก่อนแล้ว แต่เป็นการ featuring กับนักร้องคนอื่นเท่านั้น ในบอลโลกครั้งต่อมาเธอได้โอกาสฉายเดี่ยวอย่างเต็มตัวในเพลง Waka Waka ที่ประกอบฟุตบอลโลกปี 2010 ณ ประเทศแอฟริกาใต้ ตัวเพลงทำออกมามีกลิ่นอายดนตรีแอฟริกาผสมละตินได้ดี รวมถึงมีท่าเต้นอันเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เพลงนี้ติดลมบนอย่างรวดเร็ว ตัว Shakira ยังร่วมร้องเพลงพิธีปิดอันแสนประทับใจ การทำงานครั้งนี้กลายเป็นสื่อรักให้ Shakira พบกับ เคราร์ด ปิเก้ นักฟุตบอลเสปนทีมแชมป์ในปีนั้น ก่อนที่ทั้งคู่จะประกาศคบหาดูใจกันและปัจจุบันมีพยานรักร่วมกัน 1 คน

Image result for Live For Love United

Live For Love United – รวมนักฟุตบอล (ลีฟ ฟอร์ เลิฟ ยูไนเต็ด)
เพลงประกอบฟุตบอลโลกปี 2002 ที่ไม่ได้เป็นเพลงหลัก เพราะ Official song นั้นเป็นของ Anastacia (อนาสตาเซีย) ในเพลง Boom แต่เพลง Live For Love United ซึ่งต้นฉบับเพลงนี้นั้นเป็นเสียงร้องของ Peabo Bryson (พีโบ ไบรสัน) ซึ่งทำเวอร์ชั่นใหม่โดยการนำนักฟุตบอลต่างชาติต่างภาษากันถึง 45 ชีวิตมาร่วมขับร้อง ไม่ว่าจะเป็นคนดังอย่าง โรนัลดินโญ่, โรแบร์โต้ คาร์ลอส และ ซีนาดีน ซีดาน ทำให้เพลงนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในอัลบั้มรวมเพลงบอลโลกปีนั้นก็ตาม กระแสความดังของเพลงนี้กลบหลายๆเพลงในฟุตบอลโลกปีนั้นอย่างเห็นได้ชัด จนสุดท้ายทางโซนี่ มิวสิคต้องปล่อยซิงเกิ้ลเพลงนี้ออกมาในภายหลัง

Image result for We Are One (Ole Ola)

We Are One (Ole Ola) – Pitbull featuring Jennifer Lopez and Claudia Leitte (วี อาร์ วัน โอเล่ โอล่า – พิทบูล, เจนนิเฟอร์ โลเปซ, คลาวเดีย เลทท์)
เพลงประกอบฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดปี 2014 ที่ประเทศบราซิล โดยได้แร็ปเปอร์คนดัง Pitbull ร่วมร้องกับ Jennifer Lopez และ Claudia Leitte สองนักร้องสาวชื่อดังแห่งอเมริกาและบราซิล เพลงนี้ใช้ผู้แต่งถึง 9 คน เพราะต้องเร่งทำเพลงให้เสร็จก่อนบอลโลก สุดท้ายก็เปิดตัวในเดือนเมษายนก่อนการแข่งขันแค่เดือนเดียว แม้ว่าจะโดนชาวแซมบ้าบ่นอุบเรื่องที่ไม่ยอมใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองและซาวด์ดนตรีไม่ใช่แบบบราซิลเลี่ยนแท้จริง รวมไปถึงใช้นักดนตรีจากคิวบาและเปอโตริโก จนได้แค่อันดับ 19 ในชาร์ตเพลงบราซิล แต่สำหรับประเทศอื่นนั้นได้รับความนิยมอย่างมากขึ้นอันดับ 1 ในหลายประเทศเชน ฮังการี, เบลเยี่ยม และ สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงทำยอดขายได้เกิน 5 ล้านชุด

Image result for tata young

Reach For The Star – อมิตา ทาทา ยัง
เพลงนี้แต่งขึ้นโดย คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีวิกรม์เพื่อใช้ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยเมื่อปี 1998 มีสโลแกนในการแข่งขันว่า มิตรภาพไร้พรมแดน ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยกับการเป็นเจ้าภาพรายการนี้โดยได้คะแนนโหวต 20 เสียงเหนือจีนไทเปซึ่งได้ 10 คะแนน ในช่วงแรกนั้นเก็งกันว่ารายการใหญ่แบบนี้น่าจะเป็น เบิร์ด ธงไชย ที่ได้เป็นผู้ร้องเพลงเปิด แต่พลิกโผเล็กน้อยเมื่อทางทีมงานเลือก ทาทา ยัง แทน เป็นเพราะขณะนั้นสาวน้อยมหัศจรรย์กำลังโด่งดังถึงขีดสุด เพลงทำออกมาได้ดีจนหลายๆคนนำไปร้องในเวทีประกวด ถือเป็นหนึ่งในเพลงไทยที่สร้างความนิยมไปทั่วเอเชีย

 

ประเภทของแซกโซโฟน

Saxophone เป็นเครื่องดนตรีที่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากจะใช้กับวงดนตรีคลาสสิคและวงโยธวาทิตแล้ว ปัจจุบันยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในแนวเพลงใหม่ๆเช่น เร็กเก้ สกา จนไปถึงวงร็อคบางวงอีกเช่นกัน ทำให้นักดนตรีหน้าใหม่หลายคนเริ่มสนใจในเครื่องดนตรีประเภทนี้ จึงควรทำความรู้จักกับประเภทต่างๆของแซกโซโฟนเสียก่อนว่ามีระดับเสียงที่คีย์ใด จนไปถึงความเหมาะสมกับแนวดนตรีที่ต้องใช้งาน

โซปราโน แซกโซโฟน (ระดับเสียง Bb)
เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เป็นโทนเสียงที่สูงในคีย์ Bb ไม่เหมาะสำหรับผู้เริ้มต้นหัดเล่นเพราะมีความยากในการควบคุมเสียงมากกว่าแซกโซโฟนประเภทอื่น ระดับเสียง Bb เท่ากับเครื่องดนตรีคลาริเน็ตและทรัมเป็ต สามารถขึ้นไปได้สูงถึงคีย์ Eb และใช้แทนใวโอลินในช่วงโพสิชั่นที่หนึ่งในวงประเภทเครื่องเป่า ปัจจุบันมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้ง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเพราะหาแนวดนตรีที่เล่นด้วยค่อนข้างยาก

อัลโต แซกโซโฟน (ระดับเสียงEb)
เป็นแซกโซโฟนที่ค่อนข้างเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าแซกโซโฟนประเภทอื่นๆ รวมไปถึงมีขนาดที่พอเหมาะและน้ำหนักเบา คีย์ของอัลโตจะอยู่ในดนตรีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น คลาสสิค, ป็อป, แจ็ส ทำให้ได้รับความนิยมสูง ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนไวโอลิน-วิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า มีระดับคีย์ที่ Eb ไปจนถึง Bb แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย

เทเนอร์ แซกโซโฟน (ระดับเสียง Bb)
เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส อยู่ในระดับเสียง Bb ที่ต่ำกว่าโซปราโน แซกโซโฟน 1 ออคเต็ป เสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนวิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า ในบางครั้งก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแนวอื่น ๆ แซกโซโฟนเทเนอร์เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเริ่มต้นเพราะระดับคีย์ค่อนข้างกว้าง เล่นได้กับวงดนตรีหลายแนว สามารถขึ้นสูงได้ที่ระดับคีย์ F

บาริโทนแซกโซโฟน (ระดับเสียง Eb)
เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่และมีความถี่เสียงต่ำ สามารถที่จะบรรเลงเดื่ยวได้เพราะโทนเสียงอยู่ในช่วงโทนเทนเนอร์-เบสซึ่งเป็นโทนเสียงที่นักดนตรีนิยมใช้กันค่อนข้างมาก ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเชลโล่ในวงประเภทเครื่องเป่า และมีราคาค่อนข้างแพง ปกติแล้วจะมีน้ำหนักมาก ดังนั้นบาริโทนแซกโซโฟนจึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย เนื่องจากมีความเทอะทะ ความยาวท่อของบาริโทนแซกโซโฟนจะอยู่ประมาณ 7 ฟุต ทำให้ต้องเป็นผู้ชำนาญเท่านั้นจึงจะสามารถใช้เครื่องดนตรีประเภทนี้ได้อย่างคล่องแคล่ว

เบสแซกโซโฟน (ระดับเสียง Bb)
เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเสียงต่ำกว่าเทนเนอร์แซกโซโฟน 1 ช่วงคู่แปด และต่ำกว่าบาริโทนแซกโซโฟน เป็นคู่ 4 สมบูรณ์ เล่นโทนเบสเป็นหลัก ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเสียงคอนทร่าเบสในวงประเภทเครื่องเป่า เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่มากทำให้ไม่ค่อยได้เห็นในวงดนตรีทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้ในวงออเคสตร้าหรือวงโยธวาพิต แต่ต้องเป็นผู้ที่ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น ขนาดของมันเรียกว่าใหญ่กว่าตัวผู้ถือด้วยซ้ำ และเนื่องจากเป็นเสียงเบสที่ใช้คุมวงจึงไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

Image result for คอนทร่าเบส แซกโซโฟน

คอนทร่าเบส แซกโซโฟน (ระดับเสียง Eb)
เป็นเครื่องที่มีขนาดเกือบที่จะใหญ่ที่สุด มีความยาวเป็นสองเท่าของบาริโทนแซกโซโฟน มีความสูงของเครื่องอยู่ที่ประมาณ 170-180 ซม. ซึ่งสูงกว่าผู้ถือ มีช่วงเสียงต่ำกว่าบาริโทนแซกโซโฟน 1 ช่วงคู่แปด เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นได้ยาก เพราะวงดนตรีปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้โทนเสียงต่ำกว่าเสียงเบสเท่าไหร่นัก แต่ยังคงมีการผลิตอยู่ไม่มาก เสียงจะเป็นลักษณะ Buzzy มากกว่าจะบอกได้ว่าเล่นโน้ตตัวอะไรเพราะความใหญ่ของตัวเครื่องต่อปากเป่า นอกจากจะไม่ค่อยพบเห็นเครื่องดนตรีชนิดนี้แล้ว ยังหาคนเล่นได้ค่อนข้างน้อย

นอกจากนี้แล้วยังมี ซับคอนทร่าเบส แซกโซโฟน ซึ่งเป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ในระดับเสียง Bb แต่ปัจจุบันไม่นิยมเล่นกันแล้วจึงไม่ค่อยพบเห็นเท่าไหร่นัก

Shure Beta 98H/C-X

ขายเพียง  8,492฿ จาก  14,800฿

Kazuki KZ-41CE โปร่งไฟฟ้า

ขายเพียง  2,390฿ จาก  3,420฿

Shure BETA 98D/S-X

ขายเพียง  9,265฿ จาก  16,300฿

10 เพลงประกอบภาพยนตร์น่าฟังจากค่าย GTH

Image result for ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น 

อย่างน้อย – ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น 
เพลงที่ได้วงร็อคชั้นนำของเมืองไทยอย่าง Big Ass เป็นผู้ขับร้อง เนื้อร้องแต่งโดย กบ มือกลอง ส่วนทำนองนั้น อ็อฟ และ หมู สองมือกีต้าร์ช่วยกันแต่ง ทางค่าย GTH นำไปใช้ประกอบภาพยนตร์ซึ่งออกฉายเมื่อ 20 มีนา 2551 จนโด่งดัง เรื่องนี้รวบรวมดาราวัยรุ่นชื่อดังแห่งยุคมาเพียบไม่ว่าจะเป็น แพตตี้ อังศุมาลิน, โฟกัส จิระกุล และ แน็ค ชาลี กวาดรายได้ไปถึง 80 ล้านบาท เป็นหนึ่งในหนังที่ประสบความสำเร็จแถวหน้าของค่าย GTH เพลงอย่างน้อยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม น่าเสียดายที่พลาดรางวัลนี้ไป และในปลายปี 2551 เพลงนี้ก็ถูกบรรจุในอัลบั้มชุดที่ 6 Love ของวง Big Ass อย่างเป็นทางการ

Image result for แฟนฉัน

แฟนฉัน – แฟนฉัน
เพลงที่นำมารีเมคใหม่โดยได้วง เอบีนอร์มอลเป็นผู้ขับร้อง ต้นฉบับนั้นเป็นของวงชาตรี ออกมาตั้งแต่ปี 2519 เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสุดท้ายของค่ายจีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์, ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์, หับโห้หิ้น ฟิล์ม ก่อนรวมตัวกันในนาม GTH เรื่องแฟนฉันนี้กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องดังแห่งยุค กวาดรายได้ไปถึง 137 ล้านบาท แจ้งเกิดดาราเด็กหลายคนโดยเฉพาะคู่พระ-นางอย่าง แน็ค ชาลี และ โฟกัส จิระกุล เพลงประกอบส่วนใหญ่ใช้เพลงย้อนยุคสมัยช่วงปี 80 โดยให้ศิลปินยุคปัจจุบันเป็นผู้ร้อง เช่นเพลงแฟนฉัน และเพลงรักครั้งแรก ของวงชาตรี ทุกเพลงที่ประกอบเรื่องนี้โด่งดังไปทั่วประเทศ ทำให้คนรุ่นใหม่ร้องกันได้ทั่วบ้านทั่วเมืองกับปรากฏการณ์แฟนฉันในปี 2546

Image result for พี่มากพระโขนง

อยากหยุดเวลา – พี่มากพระโขนง
ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลของเมืองไทย กวาดรายได้ไปถึง 1000 ล้านบาท เพลงประกอบของภาพยนตร์นำเพลง อยากหยุดเวลา ของ ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์ มาร้องใหม่โดย ปาล์มมี่ ซึ่งเจ้าตัวถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้อย่างลึกซึ้งกินใจกับฉากชิงช้าสวรรค์ที่นางนาคไม่อยากจากพี่มากไป คำร้องนั้นแต่งโดย สีฟ้า นักแต่งเพลงชื่อดังของทางแกรมมี่ เพลงนี้สามารถคว้ารางวัล ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จาก ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 22 และมีชื่อเข้าชิงรางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ในงานภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ เป็นการปัดฝุ่นนำเพลงเก่ามาร้องได้อย่างน่าอัศจรรย์ จนหลายๆคนคิดว่าปาล์มมี่เป็นต้นฉบับของเพลงนี้ไปซะแล้ว

Image result for กวน มึน โฮ

ยินดีที่ไม่รู้จัก – กวนมึนโฮ
เพลงเปิดตัวที่ทำให้ใครหลายคนรู้จักกับวง 25hours แต่งเนื้อร้องโดย ปิยวัฒน์ มีเครือ และทำนองโดย ประทีป สิริอิสระนันท์ เนื้อเพลงกล่าวถึงคนสองคนซึ่งไม่รู้จักกันแต่มาพบรักกันได้ ความรักคือความสุขโดยไม่ต้องสนใจตัวตนอีกฝ่ายว่าเป็นใคร ซึ่งตรงคอนเซปต์ตัวหนังได้ชัดเจน เพราะคู่พระ-นาง อย่าง เต๋อ และ หนูนา เป็นนักท่องเที่ยวจากเมืองไทยที่ไปประเทศเกาหลีใต้ น MV ยังเล่นมุมกล้องกับแรงโน้มถ่วงของโลก จนเป็นที่แปลกตาและได้รับคำชมไม่น้อย ตัวภาพยนตร์ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายเรื่อง สองเงาในเกาหลี หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำรายได้ไป 125 ล้านบาท รวมถึงส่งให้ชาวไทยรู้จักกับเสียงสูงๆของวง 25hours ในเวลาต่อมา

Image result for รักไม่ต้องการเวลา - กวนมึนโฮ

รักไม่ต้องการเวลา – กวนมึนโฮ
อีกหนึ่งบทเพลงจากภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงไม่แพ้เพลงยินดีที่ไม่รู้จัก โดยได้ หนูนา หนึ่งธิดา เป็นผู้ขับร้องในเวอร์ชั่นใหม่ ต้นฉบับนั้นเป็นของวงเคลียร์ซึ่งทำไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมและเป็นหนึ่งในเพลงที่ร้องยาก แต่หนูนาโชว์เสียงร้องใสๆจนผู้ฟังต้องทึ่งในความสามารถ แท้จริงแล้วหนูนาเคยประกวดเวทีสยามกลการในรุ่นเยาวชนและได้รางวัลรองชนะเลิศในปี 2547 ทางค่ายจึงมอบให้เป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ซึ่งเธอทำได้ดีเกินคาด เวอร์ชั่นใหม่นี้สามารถกวาดยอดวิวในยูทูปไปถึง 44 ล้านวิวและคว้ารางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดนิยม จาก Gmember Award เรียกว่าหนูนาแจ้งเกิดทั้งเรื่องการแสดงและการร้องเพลงกันเลย

Image result for โปรดส่งใครมารักฉันที - รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

โปรดส่งใครมารักฉันที – รถไฟฟ้า มาหานะเธอ
เพลงชาติของคนโสดทั่วประเทศ ขับร้องโดยวง อินสติงต์ อยู่ในอัลบั้มแรก Inner ออกมาเมื่อปี 2550 แต่งเนื้อร้องและทำนองโดย ปาล์ม นักร้องนำของวงและฮิตติดชาร์ตในทันที หลังจากเพลงออกมา 2 ปี ทางค่าย GTH ก็นำไปประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่งผลให้ตัวเพลงโด่งดังมากขึ้นไปอีก รถไฟฟ้า มาหานะเธอทำรายได้ไปถึง 145 ล้านบาท ส่ง คริส หอวัง นางเอกของเรื่องแจ้งเกิดในวงการอย่างเต็มตัวกับบท เหมยลี่ พนักงานบริษัทสาวโสดวัย 30 ปี ที่พบรักกับวิศวกรรถไฟฟ้าของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งรับบทโดย เคน ธีระเดช พระเอกหนุ่มสุดฮ็อตในช่วงนั้น ปัจจุบันเพลงโปรดส่งใครมารักฉันทียังคงได้รับความนิยมตามผับไม่เสื่อมคลาย

Image result for ทุ้มอยู่ในใจ - ซักซี๊ด ห่วยขั้นเทพ

ทุ้มอยู่ในใจ – ซักซี๊ด ห่วยขั้นเทพ
ภาพยนตร์วัยรุ่นที่ย้อนความทรงจำไปสู่การประกวดดนตรี ฮ็อตเวฟ มิวสิค อวอร์ด โดยนางเอกของเรื่องคือ ณัฐชา นวลแจ่ม บุตรสาวของ แหลม มอริสัน กีต้าร์คิงส์เมืองไทยนั่นเอง เรื่องนี้ใช้เพลงประกอบเป็นเพลงร็อคยุค 90 แทบทั้งสิ้น เช่นเพลง บุษบา, ยิ่งโตยิ่งสวย โดยมีเพลงใหม่คือเพลงทุ้มอยู่ในใจที่ได้วงบิ๊กแอสมาร้อง แต่งานนี้หลายคนแปลกใจไม่น้อยเมื่อเป็นเสียงของ อ็อฟ มือกีต้าร์ แทนที่จะเป็นเสียงของแด๊ก นักร้องนำ โดยต่อมาก็มีการเปิดเผยว่าทางวงเปลี่ยนนักร้องนำเรียบร้อย เป็นบทเพลงที่เล่าถึงความฝันและความทรงจำของวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี ในเรื่องมีวงดนตรีร็อคเกอร์รับเชิญเพียบ เช่น บอดี้สแลม, บิ๊กแอส, โซคูล, แบล็คเฮด, พาราด็อกซ์, โมเดิร์นด็อก ถูกใจขาร็อคยุค 90 จนทำรายได้ถึง 78 ล้านบาท

Image result for ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ - สายลับจับบ้านเล็ก

ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ – สายลับจับบ้านเล็ก
อีกหนึ่งเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ยังคงคลาสสิคมาถึงปัจจุบัน ขับร้องโดย ป็อป ปองกูล และ ดา เอ็นโดรฟิน ดูโอ้ชาย-หญิงต่างแนวเพลงแต่มาร้องร่วมกันได้อย่างลงตัวละมุนละไม ต้นฉบับนั้นเป็นของวงอพาร์ทเมนต์คุณป้า อยู่ในอัลบั้มที่ 2 Romantic Comedy ออกมาเมื่อปี 2549 และทาง GTH นำมาประกอบหนังในปี 2550 สร้างปรากฏการณ์เป็นเพลงคู่ที่ถูกนำไป Cover มากที่สุดเพลงหนึ่งแห่งยุค ปัจจุบันก็มีนักร้องหลายคนนำมาร้องเช่นรายการ The Mask Singer จนทวีความโด่งดังมากขึ้นไปอีก ตัวหนังประสบความสำเร็จทำรายได้ไปถึง 70 ล้านบาท และส่งให้ พีค ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ กลายเป็นนางเอกวัยรุ่นแถวหน้าของเมืองไทย

Image result for ไอ้บ้า ไอ้บี้ ไอ้โบ้ ไอ้เบ้ - เก๋า เก๋า

ไอ้บ้า ไอ้บี้ ไอ้โบ้ ไอ้เบ้ – เก๋า เก๋า
ภาพยนตร์ย้อนยุคที่นำแสดงโดยนักดนตรีชื่อดังของเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น โจอี้ บอย, โป้ โยคีเพลย์บอย และ สอง พาราด็อกซ์ เนื้อเรื่องเป็นกลุ่มนักร้องวงพอสสิเบิ้ลที่กำลังเฟื่องฟู ถูกพาข้ามกาลเวลามาสู่ยุคปัจจุบันที่ไม่มีใครรู้จักพวกเขา กลายเป็นวงดนตรีหลงยุคตกกระป๋องทันที เพลงประกอบส่วนใหญ่จึงเป็นเพลงยุค 70 โดยเพลง ไอ้บ้า ไอ้บี้ ไอ้โบ้ ไอ้เบ้ นั้นแปลงจากเพลง A-Ba-Ni-Bi ของ Izhar Cohen & Alphabeta (อิซ่า โคเฮน แอนด์ อัลฟาเบต้า) แต่งเนื้อร้องใหม่โดย โจอี้ บอย แม้ตัวหนังจะกวาดรายได้ไม่มากที่ 35 ล้านบาท แต่เพลงประกอบเรื่องนี้ที่แปลงจากเพลงดังต่างๆกลับโดนใจผู้ฟังไม่น้อย ทำให้ผู้เสพย์ดนตรีรุ่นใหม่เข้าถึงแนวเพลงในยุค 80 กันมากขึ้น

Image result for ไม่ต่างกัน - คิดถึงวิทยา

ไม่ต่างกัน – คิดถึงวิทยา
เพลงที่แต่งและร้องโดยวง 25 Hours ในแนวเพลงสบายๆเข้ากับตัวหนังแนวโรแมนติก เป็นเรื่องราวของครูสองคนที่พบรักกันผ่านไดอารี่ ต่างฝ่ายต่างระบายความเหงาในไดอารี่เล่มเดียวกันโดยที่ไม่เคยพบหน้ากัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไปถึง 100 ล้านบาท และยังเป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทยเข้าชิงรางวัลออสการ์อีกด้วย สำหรับตัวเพลงไม่ต่างกันนั้นคว้ารางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จากเวทีภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ มาครอง ถือเป็นหนึ่งในหนังของ GTH ที่กวาดรางวัลส่วนตัวจากเวทีต่างๆได้ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น 6 รางวัลจากเวทีสุพรรณหงส์ 2 รางวัลจากชมรมวิจารณ์บันเทิง และรางวัลภาพยนตร์ที่สุดแห่งปี จากดาราเดลี่