LINE


มารู้จักรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนกันเถอะ

ไปซื้อ มารู้จักรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนกันเถอะที่สาขา

ไมโครโฟนนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการทำเพลง ดังที่หลายคนทราบว่าไมโครโฟนนั้นคืออาวุธหลักของนักร้องนำในวงแล้ว นอกจากนั้นไมโครโฟนยังมีหน้าที่นำเอาสัญญาณเสียงเข้าสู้มิกเซอร์ต่างๆเพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการทำเพลงอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอัดซาวด์กีต้าร์, เบส หรือกลอง ล้วนแต่ต้องอัดผ่านไมโครโฟนทั้งสิ้น ทำให้ไมค์นั้นมีบทบาทสำคัญต่อห้องอัดเสียงรวมไปถึงการใช้งานในรูปแบบอื่นๆ เช่นการร้องเพลงคาราโอเกะ, การพูดในที่ประชุม หรือปัจจุบันก็จะมีการแคสเกมส์ต่างๆมากมาย ทำให้เพื่อนต้องหาความรู้เกี่ยวกับไมค์ว่าควรใช้ไมค์ชนิดไหนกันดี

ไมค์ MXL V67G

การแบ่งลักษณะของไมโครโฟนนั้นมีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งตามการรับเสียง หรือแบ่งตามรูปแบบการใช้งานที่หลายๆคนน่าจะคุ้นหูกับคำว่าไมค์คอนเดนเซอร์และไมค์ไดนามิค สำหรับวันนี้ Music Arms จะมาแนะนำไมโครโฟนในลักษณะการรับเสียงประเภทต่างๆ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้รู้ว่าการรับเสียงของไมค์แต่ละแบบนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และได้ใช้งานกันได้ถูกต้องตามที่ต้องการ สำหรับการแบ่งแบบบรับเสียงนั้นจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภททั้งหมด ได้แก่

Cardioid-Directional

1. การรับเสียงแบบ คาร์ดิออย (Cardioid Directional)
เป็นรูปแบบการรับเสียงที่เราจะพบกันได้มากที่สุด นั่นคือการรับเสียงจากทางด้านหน้าไมโครโฟนโดยตรงหรือที่เรียกกันว่า Direct รูปแบบการรับเสียงแบบนี้มักจะใช้สำหรับการพูดหรือร้องเพลงที่ต้องการเสียงพุ่งเข้าสู่ด้านหน้าไมโครโฟน การับเสียงแบบนี้จะมีข้อดีที่ความคมชัดและน้ำหนักของคลื่นเสียงจะชัดเจน จะรับเสียงจาก 0 องศาได้ดีที่สุดและไม่ค่อยมีเสียงรบกวนนัก จึงเป็นรูปแบบที่นิยมที่สุดและใช้งานได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง หรืองานต่างๆที่ใช้การพูดเช่นแคสเกมส์

Super-Cardioid

2. การรับเสียงแบบซูเปอร์คาร์ดิออย (Super Cardioid)
จริงๆแล้วรูปแบบการรับเสียงชนิดนี้จะมีอีกแบบคือ ไฮเปอร์คาร์ดิออย (Hyper Cardioid) แต่เนื่องจากลักษณะการรับเสียงจะใกล้เคียงกันจึงขอรวบมาในหัวข้อเดียว รูปแบบการรับเสียงชนิดนี้จะคล้ายแบบคาร์ดิออย แต่จะเพิ่มการรับเสียงจากด้านหลังมากกว่า ถ้าเป็น ไฮเปอร์คาร์ดิออย จะรับเสียงจากด้านหลังได้ดีกว่า ซูเปอร์คาร์ดิออย แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยเสียงรบกวนอันไม่พึงประสงค์เท่าไหร่นัก การรับเสียงชนิดนี้จึงมักใช้กับที่กว้างที่ไม่ต้องกังวลกับการแทรกของเสียงมาก เช่นเวทีคอนเสิร์ต หรืองานพูดที่ไม่ต้องเน้นเสียงหลัก เพราะเสียงรูปแบบนี้จะมีมิติความก้องมากกว่าแบบคาร์ดิออย

Omni Directional

 

3. การรับเสียงแบบ ออมนิไดเรคชั่นแนล (Omni Directional)
เป็นระบบการรับเสียงแบบรอบทิศทางในรูปวงกลมรอบไมโครโฟน การรับเสียงแบบนี้มักจะพบในไมค์คอนเดนเซอร์เนื่องจากเป็นไมค์ที่ตอบสนองความถี่ได้ง่าย และรับคลื่นความถี่กว้าง ไมค์ชนิดนี้จึงไม่เหมาะกับการร้องเพลงเท่าไหร่นักเพราะจมีเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา หรือในบางครั้งจะเป็นเสียงหอน แต่สามารถใช้งานได้กับการบันทึกเสียงที่ต้องการ”ซาวด์ทั้งหมด”ในห้องบันทึกเสียง เช่นการ Live ในห้องอัด หรือผู้ใช้งานไม่สามารถต่อไมโครโฟนหลายตัวเข้ากับมิกเซอร์ได้ ก็จะใช้ไมค์ชนิดนี้เป็นตัวรับเสียงทั้งหมดในห้องแทน แต่การควบคุมซาวด์จะยากกว่าไมค์ชนิดอื่น จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก

Figure-8

4. การรับเสียงแบบไบไดเรคชั่นแนล (Bi-directional)
รูปแบบการรับเสียงชนิดนี้หลายคนคงคุ้นกับชื่อ Figure 8 มากกว่า พูดง่ายๆคือรับเสียงในรูปเลข 8 นั่นเอง จะเป็นการรับเสียงจากด้านหน้าและด้านหลังในระดับที่เท่าเทียมกัน เป็นการรับเสียงที่นิยมใช้กับเครื่องดนตรี เพราะซาวด์ที่ออกมาจะมีความ”อิ่ม”ของเสียงเต็มรูปแบบ ถ้าบันทึกเสียงการแสดงดนตรีก็จะรู้สึกถึงเครื่องดนตรีอื่นๆด้วย และการบันทึกซาวด์ดนตรีจะนิยมแบบนี้มากกว่าแบบ Omni เพราะจะไม่มีการรับเสียงจากด้านข้าง ทำให้ลดเสียงรบกวนไปได้พอสมควร การใช้งานการรับเสียงแบบ Figure 8 ที่นิยมอีกแบบคือการแคสเกมส์ เพราะจะได้ซาวด์ทั้งคนพูดและเสียงในเกมประกอบด้วย ขึ้นอยู่กับผู้แคสว่าต้องการให้ซาวด์ในเกมออกมาแค่ไหน ถ้าอยากให้ออกมาแบบนี้จะดีกว่าแบบ Cardioid

Unidirectional-pattern-shot-gun

5. การรับเสียงแบบช็อตกัน (Short Gun)
จะเป็นการรับเสียงทางด้านหน้าไมโครโฟนคล้ายคลึงกับแบบคาร์ดิออย แต่ช็อตกันนั้นจะมีวงการรับเสียงที่แคบกว่า ทำให้เสียงจะออกมาพุ่งกว่า ไมค์ชนิดนี้จะจับคลื่นเสียงได้ค่อนข้างไวและเสียงรบกวนน้อยมาก จึงมักจะใช้เป็นไมค์เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ และการรับเสียงของช็อตกันจะเป็นแบบทางตรง จึงนิยมใช้งานอีกแบบในลักษณะของไมค์ติดกล้องที่ต้องการเสียงของผู้พูดเท่านั้น เรียกได้ว่าไมค์ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับเสียงแบบชัดๆไม่มีการรบกวนนั่นเอง รูปแบบช็อตกันเป็นรูปแบบหนึ่งของ Unidirectional pattern หรือแบบรับเสียงเฉพาะทิศทาง

MXL 990 ไมค์

และนี่คือการรับเสียงของไมโครโฟน 5 รูปแบบหลักๆ ซึ่งเพื่อนๆอาจจะต้องพิจารณากันเองแล้วว่าแบบไหนจึงจะเหมาะกับการใช้งานของตนเอง บางคนที่ต้องการร้องเพลงธรรมดาก็อาจใช้แบบคาร์ดิออย หรือถ้าใครต้องการแคสเกมส์แบบมีเอฟเฟคเสียงเกมส์ก็อาจเป็นแบบ Figure 8 ใครชอบ Live ซาวด์สดๆก็อาจเลือกแบบ Omni ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไป แต่หากใครยังหาไมโครโฟนคู่ใจดีๆไม่ได้ก็ไม่ยาก เพียงแค่เพื่อนๆแวะมาที่ร้าน Music Arms ทุกสาขา เพื่อนๆก็จะได้ไมโครโฟนคุณภาพเยี่ยมกลับออกไป ทางร้านเรามีทีมงานที่พร้อมจะบริการให้เพื่อนได้รับความประทับใจในทุกครั้งที่มาเยือนครับ

×