LINE


สอนค่าจังหวะ “ตัวโน๊ต” กลอง

ไปซื้อ สอนค่าจังหวะ “ตัวโน๊ต” กลองที่สาขา

ปัจจุบันมีนักดนตรีมากมายที่เลือกกลองเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนรู้อย่างแรก สาเหตุหลักๆที่เลือกกลองก็มีหลายปัจจุยไม่ว่าจะเป็น ความสนุกในการเล่นที่มากกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆอย่างเปียโน หรือไม่ต้องมานั่งเจ็บนิ้วนานๆเหมือนการเล่นกีต้าร์ และก็มีอีกสาเหตุสำคัญที่ Music Arms ต้องเอามาเป็นหัวข้อในวันนี้คือ คนทั่วไปชอบคิดว่าการเล่นกลองนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทฤษฎีด้านดนตรีเช่นการอ่านโน๊ตมากนัก ทำให้มือกลองส่วนใหญ่นั้นยังอ่านโน๊ตกันไม่เป็นโดยเฉพาะมือกลองระดับเบื้องต้น

ตรงนี้ Music Arms บอกเลยว่าการอ่านโน๊ตกลองให้เป็นนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย แม้ว่าจะมีมือกลองมากมายที่สามารถตีได้โดยที่ไม่ต้องอ่านโน๊ตก็ตาม เนื่องจากกลองเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้คุมจังหวะ ดังนั้นการเล่นให้เข้าจังหวะหรือจังหวะตรงก็สามารถเล่นคลอไปกับวงได้แล้ว แต่การอ่านโน๊ตนั้นเปรียบเหมือนการรู้ตัวหนังสือหรือแกรมม่าในภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อนักดนตรีรู้เรื่องเหล่านี้ก็จะสามารถนำไปต่อยอดสู่การเรียนรู้ขั้นสูงได้ เมื่ออ่านโน๊ตไม่เป็นพอเล่นไปได้ซักระยะก็จะเกิดอาการ “ตัน” ขึ้นมา

ปัจจุบันตามเว็ปไซด์ต่างๆก็เริ่มมีการแจกโน๊ตกลองมากขึ้นคล้ายกับการอ่านแท็ปกีต้าร์ ผู้เล่นสามารถเข้าไปดูโน๊ตกลองเหล่านี้ประกอบกับการตีแกะเพลง ซึ่งช่วยให้การแกะเพลงยั้นทำได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าการเรียนรู้โน๊ตเป็นอีกสกิลหนึ่งที่มือกลองควรมีติดตัวไว้ และวันนี้ Music Arms จะมาแนะนำการอ่านโน๊ตกลองง่ายๆให้เพื่อนๆคนไหนที่ยังอ่านโน๊ตไม่เป็นเอาไว้ได้นำไปฝึกฝนเรียนรู้กัน รับรองว่าตีกลองจะง่ายขึ้นและเป็นไปขึ้นแน่นอน

ปกติแล้วใน 1 เพลงจะประกอบไปด้วย

Tempo – เป็นตัวบอกว่าเพลงนี้มีความเร็วอยู่ที่เท่าไหร่ หน่วยจะเป็น BPM ย่อมาจาก Beat per minute โดยจะนับโน๊ตตัวดำ เช่น 60 BPM ก็คือ 1 นาทีมีโน๊ตตัวดำ 60 ตัว
บรรทัด 5 เส้น – เป็นตัวบอกมือกลองว่าต้องตีกลองใบไหน บรรทัด 5 เส้นจะมี 4 ช่อง ให้จำง่ายๆเลยคือ ช่อง 1 จากบนสุดคือกลองทอม, ช่องที่ 2 จะเป็นสแนร์, ช่องที่ 3 จะเป็นฟลอร์ทอม และช่องล่างสุดคือเบสดรัม
สัญลักษณ์กลองต่างๆ – ในบรรทัด 5 เส้นก็จะมีสัญลักษณ์ต่างๆหรือตัวโน๊ตควบคู่กันไปด้วย โดยกากบาทนั้นหมายถึงไฮแฮท สัญลักษณ์เชื่อมโน๊ตก็หมายถึงจังหวะ”และ”นั่นเอง หากไม่เข้าใจจังหวะและสามารถดูได้ในคลิปประกอบ

ตัวโน็ตคือสัญลักษณ์ใช้บอกระดับเสียงและความยาวของเสียงดนตรี โดยที่ระดับเสียงดนตรีดูจากตำแหน่งของตัวโน๊ตที่วางอยู่บนบรรทัด 5 เส้น ส่วนความยาวของเสียงดูจากลักษณะของตัวโน๊ตซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

โน๊ตตัวกลม (Whole Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวขาว 2 ตัว

โน๊ตตัวขาว (Half Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวดำ 2 ตัว

โน๊ตตัวดำ (Quarter Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว

โน๊ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัว

โน๊ตตัวเขบ็ต 2 ชั้น (Sixteenth Note) มีความยาวเท่ากับโน๊ตตัวเขบ็ต 3 ชั้น 2 ตัว ซึ่งเขบ็ตสามารถเพิ่มได้จนถึง 5 ชั้น

ถ้าจะเทียบว่าตัวโน๊ตแต่ละตัวเท่ากับกี่จังหวะเราใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า “เครื่องหมายกำหนดจังหวะ”  (Time Signature) เป็นตัวบ่งบอก

เมื่อก่อนเคยเข้าใจมาตลอดว่าโน๊ตตัวดำ (Quarter Note) มีค่าเท่ากับ 1 จังหวะเสมอ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่

ตัวอย่า่งสัญลักษณ์เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) ที่แสดงในรูป คือตัวเลข 4 ด้านบนและด้านล่าง

  • ตัวเลขด้านบนแสดงจำนวนของจังหวะใน 1 ห้อง ในที่นี้คือ 4 จังหวะ
  • ตัวเลขด้านล่างเป็นตัวบอกว่าโน็ตตัวใดแทน 1 จังหวะ ในที่นี้  4 หมายถึงโน็ตตัวดำ (Quarter Note) แทน 1 จังหวะ ถ้าเป็น 2 หมายถึงโน๊ตตัวขาว (Haft Note) แทน 1 จังหวะ ถ้าเป็น 8 หมายถึงโน็ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (Eighth Note) แทน 1 จังหวะ เป็นต้น

และนี่คือการอ่านโน๊ตกลองต่างๆเบื้องต้นซึ่งเพื่อนๆควรเรียนรู้ก่อน ขอบอกว่านี่ยังแค่เบื้องต้นเท่านั้นเพราะต่อๆไปจะมีโน๊ตแปลกๆเช่นเขบ็ต 1 ชั้น 2 ชั้น ทำให้งงกันมากขึ้นไปอีก เพื่อนๆควเริ่มฝึกจากง่ายๆก่อน และที่ต้องไม่ลิมเลยนั่นคือเรื่องของจังหวะ ถ้าจะให้ดีควรมีเมโทรโนมควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้เพื่อนๆตีกลองเป็นไวขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่าลืมว่าการเรียนรู้โน๊ตต้องคู่ไปกับการฝึกฝน ดังนั้นซ้อมกันเยอะๆนครับ

×