LINE


7 สเกลกีตาร์แปลกๆรอบโลก

ไปซื้อ 7 สเกลกีตาร์แปลกๆรอบโลกที่สาขา

 

 

พูดถึงเรื่องสเกล หลายคนที่เล่นกีตาร์เป็นพอสมควรนั่นจะเข้าใจ ส่วนมากแล้วสเกลคือภาษาดนตรีสากลซึ่งเราจะเข้าใจว่ามีโน๊ตทั้งหมด 7 ตัว แบ่งเป็น โด เร มี ฟา ซอล ลา ที หรือบางคนอาจจะคุ้นเคยกับโน๊ตที่ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น C-D-E-F-G-A-B แต่มีบางประเทศนั้นคิดค้นทางสเกลขึ้นมาเป็นส่วนตัวไม่ซ้ำใคร วันนี้ Music Arms จะพาไปรู้จักกับสเกลแปลกๆรอบโลกกัน ซึ่งเพื่อนๆอาจจะแปลกใจว่าสเกลแบบนี้มีด้วยหรือ แต่ถือเป็นความไพเราะและมีเอกลักษณ์ไปอีกแบบ มีประเทศไหนนั้น ไปดูกันเลย

อินเดีย

ประเทศนี้หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับทำนองดนตรีแปลกๆ ซึ่งจริงๆแล้วทางอินเดียจะไม่ได้เรียกสเกล พวกเขาจะมีภาษาที่เรียกว่าราก้า/ราคะ การไล่สเกลคือ Raga Jog ซึ่งทางอินเดียนั้นจะตัดโน๊ตจนเหลือแค่ 3-5 ตัว ก็สามารถไล่สเกลได้แล้ว อีกทั้งยังไล่ไม่เหมือนคนอื่นขาขึ้นขาลงไม่เหมือนกันอีกด้วย ขาลงเล่น 1-3-4-5-7-8 ขาขึ้นเล่น 8-7-5-4-5-b3-1 ลดครึ่งเสียงในโน๊ตตัวที่ 3 และซ้ำโน๊ต เพื่อให้ครบประโยค หากไม่เข้าใจสามารถดูคลิปประกอบด้านบนได้เลย

ญี่ปุ่น

สเกลดนตรีของญี่ปุ่นนั้นแม้ว่าปัจจุบันจะมีความเป็นสากลมากขึ้น แต่หากเป็นดนตรีญี่ปุ่นโบราณเองก็จะมีทำนองที่เป็นเอกลักษณ์เช่นเดียวกัน เราอาจจะคุ้นเคยสเกลญี่ปุ่นจากละครโบราณ หรือดนตรีแบบพื้นบ้าน ซึ่งสเกลญี่ปุ่นนี้จะมี 2 แบบ แบบแรกคือสเกลทั่วไป แบบที่ 2 เรียกว่า Hirajoshi Sacle วิธีการไล่สเกล 2 รูปแบบได้แก่ แบบแรก 1-b2-4-5-b6 และแบบที่สอง 1-2-b3-5-b6 หากใครไม่เข้าใจก็สามารถดูคลิปด้านบนได้เช่นกัน จะรู้สึกว่าค่อนข้างคุ้นหูพอสมควร

อาหรับ

สเกลดนตรีของสเกลทั่วไปมี 12 เสียง รวม # และ b แต่อาหรับจะมีถึง 24 เสียง หรือเรียกว่ามี”ครึ่งของครึ่งเสียง” เพราะฉะนั้นเครื่องดนตรีที่ทำได้จะต้องไม่มีเฟรต อย่างเช่นเครื่องดนตรีของอาหรับที่เรียกว่าอูฐ คล้ายกีตาร์เป็นหลังเต่า จะทำเสียงไมโครโทนได้ มีชื่อสเหลว่า HiJaz วิธีเล่นคือ 1-b2-3-4-5-b6-b7 ถ้าลองไล่กันดีๆก็จะรู้สึกคุ่นเคยอยู่บ้างเช่นกันในดนตรีร็อค ใครที่ต้องการฝึกก็สามารถดูคลิปประกอบด้านบนกันเลย

ไอซ์แลนด์

สเกลไอริชหรือไอซ์แลนด์นั้นจะยากตรงสำเนียง มีวิธีเล่นคือ D-E-F#-G-A-B-C-D จะมีความแปลกตรงที่เป็นสเกลคีย์ G แต่เริ่มที่ตัว D ซึ่งอย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าจะมีความยากตรงสำเนียง หากอยากฟังสำเนียงและหัดตามสามารถดูตามคลิปประกอบได้ จะรู้สึกได้ว่าสำเนียงกีตาร์ไอริชนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากๆครับ

โรมาเนีย

สเกลโรมาเนียจะมีความก้ำกึ่งระอย่างเอเชียและอาหรับ วิธีการเล่นคือ 1-2-b3-#4-5-6-b7 จะคล้ายๆทางอาหรับ เพราะประเทศจะอยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งคุ้นเคยได้ในดนตรีร็อคเช่นกัน แต่หากอยากจะได้ซาวด์แบบสเกลโรมาเนียจริงๆควรใช้เครื่องดนตรีของบ้านเค้ามากกว่า สามารถฟังเสียงสำเนียงได้ในคลิปประกอบด้านบนได้เลยครับ

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายและมีหลายเชื้อชาติ สำหรับสเกลที่ Music Arms ยกมานั้นคือสเกลจากทางชวาหมู่เกาะบอเนียวซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะของทางอินโดนีเซีย จริงๆสเกลนี้เกิดจากเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า กาเบลัน เป็นเครื่องดนตรีประเภทฆ้องแต่มีการไล่เสียง  สเกลชื่อ Salendro มีวิธีเล่นคือ 1-b2-b3-b4-5-6-7-8 สามารถดูการเล่นได้ในคลิปเช่นกัน จะให้ซาวด์ออกแนวชาวเกาะที่แปลกออกไป

Pentatonic

สเกลสุดท้ายนั้นน่าจะคุ้นเคยกันดี แต่มาอยู่ในหัวข้อสเกลแปลกๆทำไม เพราะสเกลนี้นั้นแตกต่างตามสำเนียงที่อยู่ เช่น อยู่ทางตะวันตกอาจจะใช้สเกล Pentatonic เป็นแจ๊ส บลูส์ ได้เลย หรือหากอยู่ไทยจะคุ่นเคยสเกลนี้ได้ในเพลงหมอลำ ลูกทุ่งเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นสเกลที่ใช้กับดนตรีพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะพูดได้ว่า Pentatonic นั้นอยู่ที่ไหนก็เล่นไม่เหมือนกันสักที่

×