LINE


7 ไมค์ USB คอนเดนเซอร์ แนะนำ ในงบ 5000 ปี 2023

ไปซื้อ 7 ไมค์ USB คอนเดนเซอร์ แนะนำ ในงบ 5000 ปี 2023ที่สาขา

แน่นอนว่าในปัจจุบันไมคอนเดนเซอร์ไม่ได้ถูกจำกัดให้นำไปใช้ในสตูดิโอเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้กับงานได้หลากหลายประเภททั้งการ พอดแคสต์,  สตรีมเกม, บล็อกเกอร์ หรือ ที่นิยมฟังกันเพื่อเป็นเสียงทำกล่อมนอนอย่าง ASMR, นำไปใช้กับงานประชุมงานสัมนาออนไลน์ที่ต้องการความคมชัดของเสียงไมค์คอนเดนเซอร์ก็ตอบโจทย์ ในด้านของผู้พัฒนาก็ได้พัฒนาให้ไมค์คอนเดนเซอร์นั้น สามารถใช้งานได้ง่ายและมีอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันค่อนข้างน้อยอีกวันนี้ Music Arms จะมาขอแนะนำ 7 ไมค์ USB คอนเดนเซอร์ แนะนำ ในงบ 5000 ปี 2023 เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำงาน และตัดสินใจในการเลือกซื้อ จะมีไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ USB Condenser Microphone ตัวไหนบ้างไปดูกันครับ

1. Rode NT-USB Mini

แบรนด์จากประเทศออสเตเรียที่ออกแบบดีไซค์ให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดใช้งานง่าย เต็มเปรี่ยมไปด้วยคุณภาพของเสียงแบบ High-quality ด้วยค่า Hi-res ที่สูงถึง 24-bit 48kHz ค่าตอบสนองความถี่อยู่ที่ 20Hz – 20 kHz  ออกแบบมาเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดสดใสให้ความอุ่นของเสียงมีคุณภาพระดับมืออาชีพเพียงต่อ Output USB-C เข้าคอมพิวเตอร์, แล็ปท๊อป, แท๊ปเล็ต ก็จะได้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ที่สมบูรณ์แบบเอาไว้ใช้งาน อีกทั้งยังมีฟั่งชั่น Zero-latency Headphone ที่เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบและขจัดเสียงสะท้อนเสียงดีเลย์ ด้านในตัวมีการประมวลผลแบบดิจิทัล (Digital Signal Processing) APHEX®, Aural Exciter™ และ Big Bottom ที่สามารถโหลดฟรีได้จาก Rode Connect แอพพลิเคชั่นที่โหลดได้ฟรีจากทาง Rode อีกด้วย

2. Franken SM-USB Pro

ตัวไมโครโฟนแคปซูนที่ออกแบบมาให้มีสีดำและมีทองตัดกันมีลักษณะที่โดดเด่นจากตัวไมโครโฟน Freanken SM-USB Pro ตัวนี้เป็นไมค์คอนเดนเซอร์ที่ใช้พอร์ตการเชื่อมต่อแบบ USB ทำงานโดยไม่ต้องต่อไฟแยกใช้งานได้ง่ายแบบ Plug and Play ใช้งานได้งทันทีที่ทำการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท๊อป มีค่าการตอบสนองความถี่อยู่ที่ 30Hz – 18kHz พร้อมกับให้ความละเอียดเสียงแบบ Hi-res อยู่ที่ 16-bit / 48kHz ตัวของไมค์คอนเดนเซอร์จาก Franken SM-USB Pro นั้นถูกออกแบบให้มีปุ่ม 3 ปุ่มที่สามารถเข้าใจได้ง่ายคือ ปุ่ม Mute, ปุ่มหมุนสำหรับปรับสัญญาความแรงของเสียงไมค์, และปุ่มหมุนปรับสัญญาเสียงของหูฟังที่เป็นพอร์ต 3.5 มม. สำหรับใครที่ต้องการไมค์คอนเดนเซอร์ Condenser Microphone เอาไว้สำหรับการทำงานโฮมสตูดิโอเริ่มต้นสักหนึ่งตัว Franken SM-USB Pro ก็ตอบโจทน์อย่างมากครับ

3. Boya BY-PM700SP

ไมค์คอนเดนเซอร์ Condenser Microphone ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเลือกรูปแบบการรับเสียงได้ถึง 4 โหมรอบตัวไมโครโฟน รองรับการใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการเช่น Windows, Mac OS, IOS, Android พร้อมทั้งพอร์ต 3.5 สำหรับหูฟังเอาไว้ฟังเสียงมอนิเตอร์มาพร้อมกับคุณภาพของเสียงแบบ Hi-res 24-bit / 48kHz พร้อมกับค่าตอบสนองความถี่ 20Hz – 20kHz, Sensitivity -45dB, S/N 80dB พร้อมกับปุ่มที่สามารถปรับระดับความดังเบาได้ของทั้งไมโครโฟนและหูฟัง ปุ่มที่ใช้สำหรับการมิ้วเสียง Mute ไมโครโฟนเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังหาไมค์คอนเดนเซอร์อเนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งเป็นเสียงพูดหรือเสียงร้องก็ตอบโจทย์

4. AKG ARA

ไมค์คอนเดนเซอร์สัณชาติออสเตรียจากเวียนนา ที่มาพร้อมกับการออกแบบดีไซค์คล้ายกับ AKG LYRA แต่มีขนาดที่เล็กกว่า พร้อมกับน็อป (Knop) 2 น็อปด้วยกัน พร้อมคุณสมบัติการรับเสียงได้ 2 รูปด้านหน้า (Front) เป็นรูปการณ์รับเสียงแบบคาร์ดิออย Cardioid ด้านหน้าและด้านหลัง (Front&Back) เป็นรูปแบบการรับเสียงได้โดยรอบ Omni ให้มาพร้อมกับคุณภาพของเสียง 24-bit / 98kHz รองรับระดับความดังของเสียงได้ถึง (SPL) 120 dBA การตอบสนองความถี่อยู่ที่ 20Hz- 20kHz เป็นไมคอนเดนเซอร์ที่ใช้งานได้หลากทั้งพอดแคสต์, บล็อคเกอร์, เกมเมอร์ หรือนักดนตรีที่จะนำไปใช้กับงานโฮมสตูก็ตอบโจทย์กับการเป็นไมค์คอนเดนเซอร์ตัวแรกของคุณ

5. Zoom Zum-2PMP USB

ชุดไมค์คอนเดนเซอร์จาก Zoom ในชุดมีไมค์คอนเดนเซอร์ ZUM-2 USB Microphone และ ZHP-2 หูฟังไดนามิก รูปแบบการรับเสียงของไมค์เป็นแบบ Super Cardioid พร้อมค่าตอบสนองความถี่อยู่ที่ 20Hz – 20kHz ส่งความละเอียดเสียงได้ 24-bit / 44.1-96 kHz รองรับความดังได้สูงสุดถึง (SPL) 135 dBA Sensitivity -35 dBV/Pa ใช้งานได้หลากหลายในทุกงานเสียงตั้งแต่งานในระดับเริ่มต้น งานระดับมืออาชีพก็พร้อมที่จะให้คุณภาพเสียงที่ตอบโจทย์สำหรับคุณ พร้อมกับอุปกรณ์พกพาที่สะดวกสบายโดยไม่ต้องพึ่งอินเตอร์เฟสต่อในการใช้งาน

6. Rode X XCM-50

ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ออกแบบให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดพร้อมตัวอักษร X สีแดงที่มีความโดดเด่น ไปพร้อมกับปุ่มน็อป ฟิลเตอร์ด้านในไมโครโฟนสีแดงเป็นอักลักษณ์เฉพาะของ Rode X XCM-50 มาพร้อมกับความละเอียดของเสียงถึง 24-bit 48kHz การตอบสนองความถี่อยู่ที่ 20Hz – 20kHz มีปุ่มน็อปที่ใช้งานเพิ่ม – ลดเสียง (กดปุ่มน็อปเป็นการเปลี่ยนโหมดการใช้งาน) ออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายด้วย USB-C แบบ Plug-and-Play สามารถใช้งานร่วมกับไมค์คอนเดนเซอร์จาก Rode X XCM-50 ถึง 4 ตัว ผ่านการใช้งานซอฟต์แวร์ UNIFY (ซอฟต์แวร์นี้ใช้งานได้แค่ระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้น) ใช้งานได้ทั้งในระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac OS

7.Samson G-track Pro

ไมค์คอนเดนเซอร์ USB จาก Samson ออกมาแบบให้สมกับคำว่า Professional ในรูปแบบการใช้งาน All-in-One ที่ผู้ใช้งานสามารถได้ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบงาน คอนเดนเซอร์แผ่นไดอะแฟรมขนาดใหญ่คู่ 1 นิ้ว 3 ไมครอน สามารถเลือกรูปแบบการรับเสียงได้หลากหลายทิศทาง ทั้ง Cardioid (ทิศทางเดียว), Bidirectional (หน้า-หลัง) และ Omni (รอบทิศทาง) มาพร้อมกับการตอบสนองความถี่ 50Hz – 20kHz ความละเอียดเสียงแบบ Hi-res 24-bit รองรับความดัง (SPL) ได้สูงสุดถึง 120 dBA ค่า Sensitivity +6dB FS/PA (รูปแบบการรับเสียงทั้งหมด) มาพร้อมกับคุณสมบัติที่สามารถบันทึกเสียงจากไมโครโฟนและเครื่องดนตรีไปพร้อมกันได้ แอมพลิฟายเออร์หูฟังคุณภาพสูง แบบ Zero-latency ที่ช่วยขจัดเสียงสะท้อน พร้อมกับสวิตซ์ปรับเลือก Mono/2 Track ที่ตัวไมค์เพื่อปรับการรับฟังเสียงจากไมค์ และเครื่องดนตรีเรียกได้ว่าเป็นไมคอนเดนเซอร์ที่ครบจบในตัวเดียวและเอาอยู่ในทำการใช้งาน

และนี่ก้คือ 7 ไมค์ USB คอนเดนเซอร์ แนะนำ ในงบ 5000 ปี 2023  จากทางร้าน Music Arms ครับท่านผู้ชมสามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าที่ท่านต้องการได้ที่หน้าร้านทั้ง 7 สาขาของ Music Arms หรือ คลิ๊กที่นี่ เพื่อดูสินค้าไมค์คอนเดนเซอร์เพิ่มเติมได้จากทาง Music Arms เลยครับผม สวัสดีครับ -/-

×