LINE


How To ตั้งคอกีตาร์ง่ายๆด้วยตัวเอง

ไปซื้อ How To ตั้งคอกีตาร์ง่ายๆด้วยตัวเองที่สาขา

คอแอ่น คองอ เป็นปัญหามาจากอุณภูมิที่ทำให้ไม้มีการยืดและหดตัว แรงดึงของสายกีตาร์ การเก็บวางตัวกีตาร์ และปัจจัยอื่นๆ ทำให้เราเล่นแล้วรู้สึกไม่สบายมือ ติดเฟรตบ้าง จับแล้วปวดมือบ้าง วันนี้ Music arms จะพาเพื่อนๆมาตั้งคอกีตาร์กันครับ แต่ก่อนที่จะไปตรงนั้นเรามาทำความเข้าใจ Truss rod หรือเหล็กขันคอกันก่อนครับว่า หน้าที่มันทำยังไง โดยที่ผู้เขียนจะขอแยกเป็น 3 ชนิดด้วยกันครับ

1. One-Way Truss rod (ปรับได้ทางเดียว)

ใช้ปรับเพื่อต้านแรงดึงของสายได้เพียงอย่างเดียว การทำงานคือหมุนเพื่อเพิ่มการต้านของแรงกระทำให้มากกว่าเดิม และหมุนผ่อนให้แรงกระทำนั้นน้อยกว่าเดิม กล่าวคือใช้สำหรับคองอ หากเกิดปัญหาคอแอ่นขึ้นมา ไม่สามารถแก้ไขได้นั่นเองครับ

2. Two-Way Truss rod (ปรับได้ 2 ทาง)

เหล็กขันคอแบบนี้สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งคองอและคอแอ่น หลักการคือหมุนเพื่อดันฟิงเกอร์บอร์ดและหมุนเพื่อดันคอ สำหรับเหล็กขันคอแบบนี้ จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดครับ

3. Non-Adjustable (ปรับไม่ได้)

ใช่ครับ กีตาร์ทุกตัวไม่ได้มี Truss rod เสมอไป ส่วนใหญ่แล้วจะพบในกีตาร์คลาสสิค (Classical Guitar) เพราะว่าสายไนล่อนนั้นมีแรงกระทำต่อคอน้อยกว่า จึงไม่จำเป็นต้องใส่เหล็กขันคอมาครับ แต่ใช่ว่าจะไม่ทำให้คอแอ่นหรือโก่งนะครับ อันนี้ต้องดูแลใส่ใจในการเก็บรักษามากๆ อุณภูมิเป็นเรื่องสำคัญอย่าให้อยู่ในที่ร้อนมากเกินไป หากเกิดปัญหาขึ้นมาจะเป็นเรื่องใหญ่เอาได้ครับ

การจะตั้งคอนั้นเราจำเป็นที่จะต้องมีประแจ ซึ่งปกติจะแถมมากับกีตาร์คู่ใจที่เราซื้อมาเล่นอยู่แล้ว ซึ่งสามารถทำตามวิธีดังรูปด้านล่างได้เลยครับ

 

 

จะเห็นได้ว่า การตั้งคอกีตาร์ที่ด้านหัวและซาวด์โฮล มีการตั้งที่สลับกัน สำหรับผู้เขียนจดจำด้วยวิธี (จำหัวกีตาร์ “ทวนชิด”) และอีกอย่างที่สำคัญที่ไม่พูดไม่ได้เลยก็คือ เวลาหมุนเหล็กปรับคอ หากรู้สึกตึงมือแล้วควรหยุด หากฝืนอาจทำให้เหล็กขันขอที่อยู่ข้างในนั้นพัง และเป็นปัญหาใหญ่กว่าเดิมครับ

 

**อาจจะมีกีตาร์บางรุ่นที่ปรับนอกเหนือจากนี้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแบบนี้แทบจะทั้งหมดครับ**

**หากข้อมูลผิดพลาดประการใด ก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ**

 

×