เก้าอี้ตีกลอง CM DT700

กลองคาฮอนสายสแนร์จูนได้ CMC-CST

ขายเพียง  3,490฿ จาก  4,150฿

Samson Carbon 61 MIDI Controller

ขายเพียง  5,200฿ จาก  6,000฿

Samson Carbon 49 Midi Controller

ขายเพียง  3,600฿ จาก  4,000฿

Blackstar Fly 3 แอมป์กีตาร์ไฟฟ้า

ขายเพียง  2,880฿ จาก  3,200฿

หลักการทำงานของอุปกรณ์ในระบบเสียง PA เบื้องต้น

Image result for Mixing + output

หลักการทำงานของอุปกรณ์ในระบบเสียง PA เบื้องต้น

ส่วนประกอบพื้นฐานในระบบสัญญาณเสียง
1. Tranducer อุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเช่น ไมโครโฟน หรือ เครื่องเล่น CD
2. Mixing อุปกรณ์รวมสัญญาณและผสมเสียง เช่น Mixer, Effect และ Processor
3. Amplification ระบบขยายสัญญาณเสียงเพื่อที่จะออกไปยังลำโพง
4. Output อุปกรณ์ให้เสียง เช่น ลำโพง

Image result for Microphone (ไมโครโฟน

Microphone (ไมโครโฟน)
โดยปกติที่นิยมใช้งานมี 2 แบบ

1. Dynamic Microphones
– เป็นไมโครโฟนที่ใช้งานง่าย ทนทาน
– ใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า (Phantom Power)
– ราคาไม่แพงมากนัก
– มีแกนแม่เหล็กและขดลวดพันรอบ มีไดอะแกรม
– เมื่อเสียงปะทะแกนแม่เหล็กจะเกิดเสียง

2. Condenser Microphones
– รับสัญญาณได้ดี ในทุกย่านความถี่ (20Hz- 20KHz)
– ต้องใช้ Phantom Power (+48V)
– เป็นอุปกรณ์บอบบาง ต้องระวังการกระแทกและความชิ้น
– ภายในเป็นแผ่นรับเสียงไดอะแกรม 2 แผ่นบางๆขั้วบวกและลบ
– เมื่อใช้ไฟฟ้าแผ่นไดอะแกรมจะทำงานทำให้เกิดเสียง

Image result for รูปแบบการรับสัญญาณไมโครโฟน

รูปแบบการรับสัญญาณไมโครโฟนหลักๆจะ มี 4 แบบ
1. Cardioid รับสัญญาณด้านเดียว ไมโครโฟนประเภทนี้จะรับสัญญาณเสียงได้ดีที่สุดทางด้านหน้า ต่อเนื่องไปยังด้านข้าง (ที่มุม 90 องศา เสียงจะลดลงประมาณ 6 dB) ส่วนทางด้านหลังนั้นไม่รับเสียงเลย ดังนั้นรัศมีการรับเสียงจะเป็นลักษณะแบบรูปหัวใจ การที่เป็นไมค์ที่ไม่รับเสียงจากด้านหลัง จึงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ไมค์หลายๆ ตัวร่วมกัน และ ไม่ต้องการที่จะบันทึกเสียงบรรยากาศของห้องเข้ามามากๆ

2. Hypercardioid มีลักษณะคล้าย Cardioid ตรงที่จะรับเสียงได้ดีมากที่สุดด้านหน้า แต่สิ่งที่แตกต่างคือ จะรับสัญญาณเสียงได้น้อยที่ด้านข้างทั้งสองข้าง คือ ประมาณตำแหน่งองศาที่ 150 – 160 และ 200 – 210 Hypercardioid มักจะนิยมใช้ในกรณีที่ต้องการทิศทางการรับเสียงที่แคบกว่า Cardioid และ Supercardioid มีรัศมีการรับเสียงแบบนี้ มักนิยมใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการแยกการบันทึกเครื่องดนตรีที่อยู่ใกล้กันมาก เป็นต้น

3.Supercardioid มีรัศมีการรับเสียงด้านหน้าที่แคบกว่า Cardioid แต่จะมีลักษณะที่คล้ายกับ Hypercardioid มาก ต่างกันตรงที่ รัศมีการรับเสียงที่ด้านหลังจะแคบกว่ามาก

4. Figure 8 ไมโครโฟนประเภทนี้ รับสัญญาณได้เกือบเท่ากัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่จะรับได้น้อยมาก ที่ด้านข้าง พื้นที่การรับเสียงจึงมีลักษณะคล้ายกับเลข 8 ที่จุดตัดกันของเลข 8 เป็นตำแหน่งของไมโครโฟน ไมโครโฟนประเภทนี้ยังถูกเรียกได้ในอีกชื่อหนึ่งคือ Bi-Directional แนวการใช้งานนั้นสามารถใช้กับการร้องของนักร้องสองคนโดยแต่ละคนในแต่ละด้านของไมค์หรือการอัดเสียงเครื่องดนตรีโดยด้านหนึ่งรับเสียงจากเครื่องดนตรีและอีกด้านหนึ่งจับบรรยากาศของห้อง เป็นต้น

Image result for ขั้วต่อ สัญญาณเสียง

ขั้วต่อ สัญญาณเสียง
หัวแจ็คหลักๆในการต่อสัญญาณเสียงมี 4 แบบ คือ แบบ XLR, แบบ Phone, แบบ RCA และแบบ USB

ชนิดของ Mixer มี 4 แบบ
1. Analog Mixer เป็นระบบวงจรไฟฟ้าภายใน ใช้งานง่าย
2. Digital Mixer เป็นระบบวงจรไฟฟ้ารวมกับข้อมูล มีระบบการใช้งานที่ยุ่งยากขึ้น
3. Power Mixer เป็น Mixer ที่รวมกับ Power Amp
4. All in one Mixer เป็น Mixer ที่สามารถขับกำลังเสียงและให้เสียงได้ในตัวแบบครบชุด

Image result for Equalizers

Equalizers คือการปรับระดับสัญญาณเสียง โดยปกติจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เสียงต่ำ เสียงกลางและเสียงสูง โดยบางครั้งอาจมีการแบ่งเป็น High Mid และ Low mid

เสียงต่ำ คือกลุ่มสัญญาณเสียงในระดับต่ำกว่า 100 Hz เป็นกลุ่มย่านเสียงต่ำของเครื่องดนตรี มวลของเสียงจะมีขนาดใหญ่และหนา หากเพิ่มมากขึ้นจะฟังเบลอไม่คมชัด

เสียงกลาง คือกลุ่มสัญญาณเสียงตั้งแต่ 250 Hz ถึง 5 KHz เป็นกลุ่มย่านเสียงปกติของเครื่องดนตรีและนักร้อง โครงร่างเสียงจะชัดเจน มีพลัง

เสียงสูง คือกลุ่มสัญญาณเสียงตั้งแต่ 10 KHz โดยจะเป็นเสียง Overtones ของเครื่องดนตรี ให้เสียงเครื่องโลหะชัดเจน เนื้อเสียงมีความคม หากลดมากไปเสียงจะฟังดูไม่โปร่ง

Trick ในการเลือกเครื่องเสียงที่ดีควรเลือกลำโพงที่มีกำลังขับที่ต้องการ จากนั้นจึงเลือกตัว Power Amp ที่เหมาะสมกับลำโพงนั้นๆ

แหล่งที่มา Yamaha Pro Audio Thailand

พื้นฐานสัญญาณเสียง

Image result for คลื่นเสียง

พื้นฐานสัญญาณเสียง

ธรรมชาติของเสียงในอากาศจะมาเป็นลักษณะคลื่นขึ้น/ลง ซึ่งจะมีความเข้มหรือความเบาบางสลับกันไป หากความเข้มของเสียงสูง เสียงจะมีความดัง ในขณะที่ความเข้มต่ำ เสียงจะเบา

การเป็นผู้ทำงานด้านเสียงควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

1. ชื่นชอบการฟัง / รักในเสียงดนตรี
2. มีความเข้าใจในความแตกต่างของดนตรีแต่ละแนว
3. ตระหนักถึงความเป็นดนตรีและความมุ่งหมายของผู้แสดงเป็นหลัก
4. เป็นผู้ที่พร้อมช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
5. ไม่ควรมี Ego ควรตระหนักถึงการเรียนรู้
6. แสวงหาสิ่งแปลกใหม่เสมอ
7. มีไหวพริบ ทักษะ
8. มีมุมมองในด้านกว้าง พร้อมเปิดใจรับฟังสิ่งใหม่และเพื่อนร่วมงาน

Image result for คลื่นเสียง

คลื่นเสียงจะแบ่งเป็นสองส่วน
1. Amplitude หรือ dB เป็นขนาดความดังหรือความเข้มของเสียง
2. ความยาวคลื่น โดยคลื่นเสียงจะเดินทางเป็นลักษณะคลื่นวน 1 รอบ เป็น 360 องศา ค่าความถี่เสียงมีหน่วยเป็น Hz หรือ เฮิร์ซ หมายความว่า เสียงเดินทางกี่รอบใน 1 วินาที หากเสียงเดินทางหลายรอบจะเรียกว่า High-pitched sound หรือคลื่นความถี่สูง ลักษณะเสียงจะสูง โดยปกติแล้วระดับเสียงที่คนฟังได้คือ 20-20000 Hz แต่จะได้ยินมากสุดที่ 500-6000 Hz

หลักการคำนวณคลื่นเสียงมีสูตรคือ ความยาวคลื่น (m) = ความเร็วเสียง (m/s) / ความถี่เสียง (Hz)

Image result for phase

Phase คือ ระยะห่างของจุดเริ่มต้นของคลื่นสัญญาณเสียง 2 คลื่น หรือระยะเวลาการเริ่มต้นของคลื่นสัญญาณเสียง 2 คลื่น คำว่าระยะห่างคือ ระยะที่คลื่นสัญญาณเสียงกำเนิดออกมา 2 คลื่นสัญญาณที่มีระยะห่างเราวัดกันเป็นองศาว่าห่างกันกี่องศา หรือระยะเวลาทีี่คลื่นเสียงเกิดขึ้นใช้เวลาห่างกันเท่าไหร่ เราเปรียบเทียบหรือวัดความถี่ใดความถี่หนึ่งเท่านั้น เรื่องของ Phase นี้เราสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 3 รูปแบบคือ

1. In Phase คือลักษณะของคลื่นเสียง 2 คลิื่นสัญญาณเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกันโดยมีทำให้องศาที่เกิดขึ้นตรงกันคือ 0 องศา สิ่งที่ได้คือ คลื่นเสียง 2 คลื่นสัญญาณเมื่อรวมตัวกันคลื่นจะใหญ่ขึ้น นั่นเท่ากับว่าเสียงที่เราได้จะดังขึ้นอีกเท่าตัวนั่นคือ 3dB อธิบายง่ายคือ ถ้า Phase ตรงกัน เสียงจะดังขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Image result for phase

2. Out of Phase คือลักษณะของคลื่นเสียง 2 สัญญาณเกิดในเวลาที่ต่างกันและระยะห่างของจุดกำเนิดคลื่นมีถึง 180 องศา ทำให้คลื่นเสียงที่ได้มีเสียงเบาถึงระดับ 0dB ในความถี่ใดความถี่หนึ่ง ทำให้เราไม่สามารถได้ยินเสียงนั้นได้ โดยปกติส่วนมากการเกิด Out of Phase นั้นมักจะเกิดจากการทำสายสัญญาณสลับขั้วกัน

3. Phase Shift คือลักษณะของคลื่นเสียง 2 คลื่นสัญญาณเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกันและระยะห่างของจุดกำเนิดคลื่นเริ่มต้นตั้งแต่ 1 องศาไปเรื่อยๆแต่ไม่ถึง 180 องศา ทำให้เสียงบางช่วงก็ดังขึ้นและบางช่วงก็เบาลง ซึ่งในงาน Live ที่เราทำอยู่ในปัญจุบันจะไม่สามารถหลีกหนีเรื่องของ Phase Shift ไปได้เลย และ Phase Shift นี่แหละที่ทำให้เสียงเกิดมิติเสียง Stereo ขึ้นมาทำให้เพลงนั้นน่าฟังมากขึ้น

Image result for 3 db

ค่าความดังของเสียงจะเพิ่มขึ้น 3 dB เสมอ โดยการจะทำให้เพิ่ม 3 dB จะต้องเพิ่มพลังงานแหล่งกำเนิดเสียงเป็น 2 เท่า เช่น ใช้ลำโพง 1 ตัว ให้เสียง 60 dB แต่หากเพิ่มลำโพงมาอีก 1 ตัว เสียงที่ได้จะไม่ใช่ 120 dB โดยจะเพิ่มเป็น 63 dB เท่านั้น

แหล่งที่มา Yamaha Pro Audio Thailand